วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556

สอบกลางภาค


คำชี้แจง  ให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้

1.กฎหมายคืออะไร จงอธิบาย และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าอย่างไร
            กฎหมาย คือ คำสั่งหรือข้อบังคับความประพฤติของมนุษย์  ซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุด หรือรัฏฐาธิปัตย์เป็นผู้บัญญัติขึ้นผู้ใดฝ่าฝืนก็จะต้องได้รับการลงโทษ โดยกฎหมายนั้นจะมีสภาพบังคับเพื่อให้กฎหมายเกิดความศักดิ์สิทธิ์  และประชาชนเคารพเชื่อฟังปฏิบัติตามกฎหมายจึงต้องมีสภาพบังคับ สภาพบังคับของกฎหมายนั้นแบ่งเป็นสภาพบังคับในทางอาญาและทางแพ่ง และทุกคนจะต้องรู้กฎหมายของประเทศด้วย ซึ่งกฎหมายที่มีอยู่นั้นเป็นไปด้วยความเสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติก็คือไม่ว่าจะเป็นคนจน คนรวยหรือจะมีอำนาจมากแค่ไหนก็ใช้กฎหมายตัวเดียวกัน หรือไม่คนจนโดนจำคุก แต่คนรวยไม่โดน เนื่องจากแต่ละคนก็มีสิทธิความเป็นมนุษย์เหมือนกันทั้งสิ้น

2.การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัฐและเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพราะอะไร จงให้เหตุผลประกอบ
             เห็นด้วย เนื่องจากใบประกอบวิชาชีพที่ได้มานั้นจะต้องผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติความเป็นครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาว่าจะมีคุณสมบัติตามที่ได้กำหนดไว้หรือไม่ เพราะหากไม่ได้กำหนดไว้ ก็แสดงว่าบุคคลทั่วไปก็สามารถเป็นครูได้ แล้วถ้าอย่างนั้นแล้วจะเรียนครูไปทำไม่ หากไม่เรียนก็เป็นได้ ฉะนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายมาบังคับให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษามีใบประกอบวิชาชีพ และเพราะว่าอาชีพครูเป็นอาชีพที่มีจรรยาบรรณ  ต้องมีความรับผิดชอบต่อลูกศิษย์  ไม่ใช่ว่าใครที่ไหนก็จะมาเป็นครูได้  ฉะนั้นคนที่อยากเป็นครูจึงต้องมีใบประกอบวิชาชีพทุกคน  ส่วนคนที่ไม่มีเขาก็เปิดโอกาสให้มาเรียนตามสถาบันที่เปิดสอน  ซึ่งเราจะต้องเรียนมาตรฐาน 9 เล่ม  ตามที่ คุรุสภากำหนด  จบแล้วก็จะได้ใบอนุญาตทำการสอน ถ้าใครเป็นครูอยู่แล้วก็สามารถไปขอใบวิชาชีพได้เลยที่คุรุสภา  โดยมีใบอนุญาตทำการสอนแนบกับใบรับรองประสบการณ์การสอน 1 ปี   แล้วก็จะได้ใบประกอบวิชาชีพครู

3.ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง อธิบายยกตัวอย่าง
            แนวทางในการระดมทุนและทรัพยากรทางการศึกษาในท้องถิ่นนั้น ฉันคิดว่าควรที่จะหาจากองค์กรรัฐ หรือองค์กรอิสระเช่น จากห้างร้านที่เห็นว่ามีกำลังทรัพย์พอสมควรที่จะใช้ในการศึกษา อาจจะสรรหามาจากหลายๆ แหล่ง ทั้งที่เป็นองค์กรรัฐและเป็นองค์กรเอกชน และในการระดมทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษา นั้นควรที่จะสำรวจแหล่งเรียนรู้ สถานประกอบการและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อทำข้อตกลงการให้ความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน จัดการบริหาร และใช้ งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมกัน โดยการจัดหาทรัพยากรนั้นอาจมีหลายอย่างทั้งด้านงบประมาณการเงิน และทรัพย์สิน โดยหามาจากทั้งจากรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ สถาบันสังคมอื่น และต่างประเทศมาใช้จัดการศึกษาโดยเป็นผู้จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา บริจาคทรัพย์สิน หรือทรัพยากรอื่นให้แก่สถานศึกษาและมีส่วนร่วมรับภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษาตามความเหมาะสมและความจำเป็น


4.รูปแบบการจัดการศึกษามีกี่รูปแบบอะไรบ้าง และการศึกษาในระบบมีกี่ระดับประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 กำหนดนั้นแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

                1. การศึกษาในระบบนั้น เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและการประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน ซึ่งการศึกษารูปแบบนี้จัดในโรงเรียน วิทยาลัย   มหาวิทยาลัย หรือสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเรียกอย่างอื่น สามารถจัดการศึกษาในชั้นเรียนหรือเป็นการศึกษาทางไกล

                2. การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่ยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาการศึกษา การวัดและประเมินผลโดยคำนึงถึงความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของแต่ละบุคคล เช่น การศึกษานอกโรงเรียน การฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ

                3. การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส สามารถศึกษาได้จากบุคคล สภาพแวดล้อม สื่อหรือแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ การศึกษาแบบนี้มีความยืดหยุ่น เปิดโอกาสให้ผู้สนใจสามารถเลือกเนื้อหาที่สนใจตรงกับความต้องการของตนเองและสามารถศึกษาในเวลาที่ปลอดจากภารกิจอื่นได้ เช่น การฟังบรรยายพิเศษ การศึกษาจากเอกสาร การเยี่ยมชมการสาธิต การสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตหรือแหล่งเรียนรู้อื่นๆ

             ซึ่งจากทั้งทั้ง 3 ระบบจะมีการเชื่อมโยงกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดคือ การศึกษาทั้ง 3 ระบบ เป็นวิธีการเรียนรู้ตลอดชีวิตซึ่งสามารถนำไปพัฒนาชีวิตและสังคมจึงต้องมีการผสมผสานการศึกษาทั้ง 3 ระบบเข้าด้วยกัน กล่าวคือ บุคคลเรียนรู้การศึกษาตามอัธยาศัยตั้งแต่เกิดโดยการเลี้ยงดูจากพ่อ แม่ ผู้ปกครอง และการเรียนรู้ อยู่ร่วมในชุมชน รวมถึงการเรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ จึงสรุปได้ว่าการเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย

             การศึกษาในระบบ แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาระดับอุดมศึกษา

การศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย การศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่า 12 ปีก่อนระดับอุดมศึกษา การแบ่งระดับและประเภทของการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยจัดแบ่งไปตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง มี 3 ระดับคือ

             1.การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา เป็นการศึกษาที่มุ่งอบรมเลี้ยงดูเด็กก่อนการศึกษาภาคบังคับ เพื่อเตรียมเด็กให้มีความพร้อมทุกด้านดีพอที่จะเข้ารับการศึกษาต่อไป

            2.การศึกษาระดับประถมศึกษา เป็นการศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถขั้นพื้นฐานและให้สามารถคงสภาพอ่านออกเขียนได้ คิดคำนวณ ได้มีความสามารถประกอบอาชีพตามควรแก่วัยและความสามารถ ดำรงตนเป็นพลเมืองดีในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขได้

             3.การศึกษาระดับมัธยมศึกษา เป็นการศึกษาที่ต่อจากระดับประถมศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ทั้งวิชาการและวิชาชีพที่เหมาะสมกับวัย ความต้องการ ความสนใจ และความถนัด เพื่อให้บุคคลเข้าใจและรู้จักเลือกอาชีพที่เป็นประโยชน์แก่ตนเองและสังคม การศึกษาระดับนี้แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ มัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย

การศึกษาระดับอุดมศึกษา

             เป็นการศึกษาหลังระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มุ่งพัฒนาความเจริญงอกงามทางสติปัญญาและความคิด เพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการ การศึกษาระดับนี้จัดแบบกว้างให้ผู้เรียนมีความรู้รอบ และเน้นเฉพาะสาขาวิชาชีพให้ผู้เรียนมีความรู้สึกและชำนิชำนาญทั้งในด้านทฤษฎี ปฏิบัติและมีจรรยา บรรณของวิชาชีพนั้น ๆ หน้าที่ของสถาบันอุดมศึกษาจึงมุ่งดำเนินการเรียนการสอนทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ

5.ท่านเข้าใจการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร อธิบายยกตัวอย่างประกอบ
            การศึกษาภาคบังคับนั้น เป็นการศึกษาที่มีกฎหมายบังคับให้ทุกคนเรียนอยู่ในโรงเรียนจนกว่าจะพ้นเกณฑ์  ซึ่งกำหนดตามอายุ หรือระดับการศึกษาที่ได้แสดงไว้ในแผนการศึกษาแห่งชาติ การจัดการศึกษาทุกระดับ และทุกประเภทต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติแผนพัฒนาการศึกษา แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และนโยบายของรัฐบาล รัฐและเอกชนต่างมีส่วน   ร่วมรับผิดชอบในการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาของสังคม พัฒนาประเทศ    และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน

             แต่สำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้น คือ การศึกษาที่จำเป็น และเป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้เรียนมีพื้นฐานที่แข็งแรงมั่นคง เพียงพอ กับการ ดำรงชีวิตให้ดีได้ในวันข้างหน้า ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้

             ด้านที่ 1.ทำให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างดี มีชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

             ด้านที่ 2.สามารถประกอบการงานอาชีพเพื่อเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้

             ด้านที่ 3.ทำให้สามารถพัฒนาตนเองให้เจริญก้าวหน้าได้

             และด้านที่ 4.และการมีส่วนร่วมกับผู้อื่นในการพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติ

ซึ่งสิ่งใดบ้างที่จะสร้างพื้นฐานให้ครบถ้วนทั้งสี่ด้านนี้ได้ คือเป้าหมายที่ต้องการให้คนได้รับและเกิดขึ้นก็คือ การวางพื้นฐานชีวิตด้วยการเรียนภายในเวลาสิบสองปีให้ได้ความรู้ให้มากที่สุดเพื่อที่จะสามรถนำไปใช้ได้ในอนาคตต่อไป ซึ่งในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้นจะต้องไม่น้อยกว่าสิบสองปีก่อนระดับอุดมศึกษา

กล่าวได้ว่าในการศึกษาภาคบังคับนั้นจะบังคับให้ทุกคนเรียนอยู่ในโรงเรียนจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามที่แผนการศึกษากำหนดไว้ และในการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้นจะต้องเรียนไม่น้อยกว่าสิบสองปี

6.การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการเป็นอย่างไร และมีใครเป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าว อธิบายยกตัวอย่าง
สถานภาพของหน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการใหม่นั้นจะ ประกอบด้วย สำนักงานรัฐมนตรีที่เป็นหัวหน้าส่วนราชการ และ อีก5 หน่วยงานหลัก คือ สำนักงานปลัดกระทรวง สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ซึ่งจะเป็นในส่วนย่อยลงมาจากนายกรัฐมนตรี ซึ่งในการทำงานนั้นจะทำกันอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้ซึ่งการจัดการศึกษาที่ดีที่สุดของประเทศไทย กล่าวคือ สำนักงานปลัดกระทรวง สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จะมีหน้าที่ในการจัดระบบการศึกษา หลังจากนั้นก็ได้ส่งเรื่องไปยังสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ท่านพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ว่าจะใช้การศึกษาแบบไหนที่ดีที่สุด

 7.จงบอกเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546
            สาเหตุในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ เนื่องจาก ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษานั้นเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาของชาติ จะต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะอย่างสูงในการประกอบวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรมและประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งมีคุณภาพและมาตรฐานเหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง จึงจำเป็นต้องตรากฎหมายเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู และส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู และบุคลากรทางการศึกษา และเพื่อปรับสภาพในกระทรวงศึกษาธิการตาม โดยกำหนดให้คุรุสภามีอำนาจหน้าที่กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ และการพัฒนาวิชาชีพ รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ และประการสุดท้ายคือเพื่อสืบทอดประวัติศาสตร์และ เจตนารมณ์ของการจัดตั้งคุรุสภาให้เป็นสภาวิชาชีพครู


8.ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว หรือไปสอนเป็นประจำ หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กระทำผิดตาม พรบ.นี้หรือไม่เพราะเหตุใด
            เป็นการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติการศึกษาฉบับนี้ เนื่องจากสภาครูและบุคลากรทางการศึกษานั้นมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ การควบคุมความประพฤติและการดำเนินงาน ของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นไป ตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ การออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอประกอบวิชาชีพ การพักการใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต การสนับสนุนส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพ ซึ่งสภาครูและบุคลากรทางการศึกษานั้นไม่สามารถไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว หรือไปสอนเป็นประจำได้เพราะผิดพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา

 9.ท่านเข้าใจความหมายโทษทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างไร อธิบาย และโทษทางวินัยมีกี่สถาน อะไรบ้าง
โทษทางวินัยสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาคือ การลงโทษผู้ที่ทำผิดตามกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ และแบบระเบียบที่กำหนดให้ปฏิบัติตามหรืองดเว้นการปฏิบัติ ซึ่งโทษทางวินัยจะมี 5 สถานด้วยกัน คือ ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดขั้นเงินเดือน ปลดออก และไล่ออก

 10.ท่านเข้าใจคำว่า เด็ก เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม ที่สอดคล้องกับ พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 อย่างไรจงอธิบาย ตามความเข้าใจของท่าน

            เด็กหมายถึง บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรสกล่าวคือ ผู้ที่สมรสแล้วแต่อายุยังไม่ถึงสิบแปดปีก็ไม่ถือเป็นเด็ก

            เด็กเร่ร่อน หมายถึง เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือมีแต่ไม่เลี้ยงดูหรือไม่สามารถเลี้ยงดูได้ จนเป็นเหตุให้เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่างๆ ซึ่งเด็กคนนั้นอาจจะก่อเหตุให้สังคมต้องเดือดร้อน และเด็กคนนั้นจะมีพฤติกรรมเร่ร่อนไปในสถานที่ต่างๆ

             เด็กกำพร้า หมายถึง เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต เด็กที่ไม่ปรากฏบิดามารดาหรือไม่สามารถสืบหาบิดามารดาได้ และเด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิตก่อนที่เด็กคนนั้นจะบรรลุนิติภาวะ

             เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก หมายถึง เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือบิดามารดาหย่าร้าง ทิ้งร้าง ถูกคุมขัง หรือแยกกันอยู่และได้รับความลำบาก ซึ่งเด็กเหล่านั้นไม่สามารถช่วยตัวเองได้ และตกอยู่ในสภาพที่ลำบากหรือเด็กที่ต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัยหรือกำลังความสามารถและสติปัญญา หรือเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้

             เด็กพิการ หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย สมอง สติปัญญา หรือจิตใจ ไม่ว่าความบกพร่องนั้นจะมีมาแต่กำเนิดหรือเกิดขึ้นภายหลัง ที่ไม่สามารถดำรงชีวิตด้วยตนเองได้โดยจะต้องพึ่งพาผู้อื่นในการดำรงชีวิต เช่น บกพร่องทางตา ทางร่างการ แขน ขา หรือบกพร่องทางการได้ยิน

             เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด หมายถึง เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร เด็กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดี เช่น เพื่อนที่ชักนำไปสู่การติดยาเสพติด การพนัน การลักขโมย หรืออื่นๆ ที่ผิดตามหลักกฎหมาย กฎศีลธรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น